Tag: php

บทที่ 7.5 คำสั่งควบคุม คำสั่งวนรอบ

หลังจากเราเข้าใจการทำงานของคำสั่งวนรอบแล้ว ทีนี้ก็มาถึงวิธีการควบคุมการทำงานของคำสั่งวนรอบแล้ว ซึ่งก็มีเพียง 2 คำสั่งคือ

  • break
  • continue

สำหรับคำสั่งควบคุมนี้ ต้องใช้งานร่วมกับคำสั่งเงื่อนไขภายในลูปควบคุมการทำงาน Continue reading

บทที่ 7 คำสั่งวนรอบ

คำสั่งวนรอบ ใช้สำหรับทำงานซ้ำๆ กัน ในภาษา PHP มีคำสั่งวนรอบทั้งหมด 4 คำสั่งคือ

  • for
  • while
  • do while
  • foreach

ส่วนประกอบของคำสั่งวนรอบจะมี 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ

  1. ค่าเริ่มต้น (initialization)
  2. เงื่อนไขในการทำงาน (condition)
  3. คำสั่งเปลี่ยนค่า (update)

คำสั่งวนรอบ จะทำงานก็ต่อเมื่อเงื่อนไขยังคงเป็นจริง เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้เงื่อนไขเป็นเท็จเพื่อให้จบการทำงานโดยการเปลี่ยนค่าไปเรื่อยๆ ถ้าหากไม่มีการจบเงื่อนไขโปรแกรมก็จะไม่จบการทำงาน ดังนั้นให้ระวังตรงนี้ด้วยนะครับ Continue reading

บทที่ 6 คำสั่งเงื่อนไข

เงื่อนไขในการเขียนโปรแกรม เป็นการกำหนดเส้นทางการทำงานของโปรแกรมตามที่เราต้องการ เราสามารถกำหนดการทำงานได้จาก ผลลัพท์ของการเปรียบเทียบ หรือ การคืนค่าของฟังก์ชั่น

คำสั่งเงื่อนไขในภาษา PHP มี 2 คำสั่งคือ

if... elseif... else...
switch... case...

เงื่อนไข if… elseif… else… จะถูกแบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ Continue reading

บทที่ 5 ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์

ในการเขียนโปรแกรมทุกๆ โปรแกรม ต้องมีการคำนวนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ แล้วสิ่งที่ใช้คำนวนนั้นก็คือตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ที่เรารู้จักกันนั่นเอง ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ในภาษา PHP ก็เหมือนกับภาษาอื่นๆ สำหรับท่านที่เขียนโปรแกรมได้แล้ว อาจจะข้ามตรงนี้ไปเลยก็ได้ครับ เพราะเหมือนเอาของเก่ามาเล่าใหม่ เล่ากี่ที กี่ที มันก็ไม่ต่างไปจากเดิมเท่าไหร่หรอกครับ แต่สำหรับท่านที่กำลังเริ่มเขียนโปรแกรมแล้ว จุดนี้ ถือเป็นสิ่งที่ต้องรู้และต้องเข้าใจด้วย ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจจะเขียนโปรแกรมเพื่อที่จะใช้งานจริงๆ ไม่ได้เลย

ตัวดำเนินการกำหนดค่า

การกำหนดค่าให้ตัวแปร ใช้เครื่องหมาย = (เท่ากับ) ในการกำหนดค่า วิธีการจำง่ายๆ ก็คือ สิ่งที่ทำด้านขวา (เช่นการคำนวน หรือ ข้อความ) จะถูกส่งไปยังด้านซ้าย ตามตัวอย่าง Continue reading

บทที่ 4 ชนิดข้อมูล (ภาค 2)

พบกันอีกแล้วหลังจากหายไปซะสัปดาห์กว่าๆ ก็ไม่มีไรหรอกครับ แอบไปแข่งเกมมา ปีนี้ก็สนุกดีครับ แต่เสียดายคนน้อยไปหน่อย

เรามาเข้าเรื่องของเราเลยดีกว่า ตอนนี้ก็เป็นเรื่องของตัวแปร หลายๆ ท่านคงจะทราบแล้วว่าวีธีการประกาศตัวแปรใน PHP นั้น ง่ายแสนง่าย เพียงแต่ใส่เครื่องหมาย $ เข้าไปข้างหน้า ข้อความนั้นก็จะเป็นตัวแปรแล้ว แต่มีข้อแม้อยู่นิดนึงคือ

  1. ห้ามมีช่องว่างในตัวอักษร
  2. ห้ามขึ้นต้นด้วยตัวเลข
  3. ห้ามมีเครื่องหมายพิเศษ (Control Charecter)
  4. ตัวอักษรเล็ก-ใหญ่ ถือว่าเป็นคนละตัวกัน (Case sensitive) Continue reading

บทที่ 3 ชนิดของข้อมูล

การสร้างตัวแปรในภาษา PHP ไม่จำเป็นต้องบอกชนิดของตัวแปรนั้นๆ เพียงแค่กำหนดค่าให้ตัวแปร ตัวแปรนั้นๆ ก็จะถูกประกาศ (cast) ให้เป็นชนิดตามข้อมูลที่ได้กำหนดเข้าไป (งง ไหมเนี่ย)

ภาษา PHP พัฒนามาจากภาษา C จึงมีชนิดข้อมูลที่คล้ายกัน แต่ได้ตัดชนิดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันออกไป จนเหลือชนิดข้อมูล 3 ชนิดใหญ่ 7 ชนิดย่อย ดังนี้

ชนิดข้อมูลกลุ่มแรก สามารถเก็บได้เพียงข้อมูลเดียว (Scalar Datatypes)
เป็นชนิดข้อมูลที่เก็บค่าไว้ได้เพียงชนิดเดียว มีทั้งหมด 4 ชนิดคือ Continue reading

บทที่ 2 ตัวแปร

การกำหนดตัวแปรในภาษา PHP นั้น ง่ายมากๆ เลยครับ เพียงแต่ใส่เครื่องหมาย $ เข้าไปข้างหน้าตัวอักษรใดๆ ก็จะถือว่าเป็นตัวแปรแล้ว ง่ายใช่ไหมครับ แต่ก็มีข้อกำหนดของการสร้างตัวแปรอยู่คือ Continue reading

บทที่ 1 เริ่มต้นเขียนโปรแกรม

หลังจากเราติดตั้งโปรแกรมต่างๆ เสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว ทีนี้เราก็พร้อมที่จะทำการเขียนโปรแกรมภาษา PHP แล้วล่ะครับ

ก่อนที่จะเริ่มเขียน PHP เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ภาษา PHP นั้นจะทำงานบน Server และส่งค่ากลับมาเป็น HTML ให้ Browser แสดงผล จึงต้องเก็บไฟล์ทั้งหมดไว้ใน Home Directory และเรียกผ่าน URL ของ Browser ไม่เหมือนกับ HTML ที่สามารถเรียกจากตรงไหนก็ได้ สำหรับการตั้งค่า Home Directory สามารถอ่านได้จากตอนที่แล้ว

นอกจากจะเก็บไฟล์ไว้ที่ Home Directory แล้ว ไฟล์ที่จะใช้งานได้ ต้องมีนามสกุล php ด้วย และเป็น text file ธรรมดา

เข้าใจข้อกำหนดเหล่านี้แล้ว เราก็พร้อมที่จะเขียน PHP ล่ะครับ Continue reading

บทที่ 0.5 การติดตั้งโปรแกรมสำหรับ Windows 64bit

สำหรับการติดตั้งโปรแกรมบน Windows แบบ 64bit นั้น จะมีความแตกต่างจาก Windows ธรรมดานิดหน่อยคือ

  1. เนื่องจากโปรแกรม Apache เป็นโปรแกรมแบบ 32bit จะถูกเก็บไว้ใน Program Files (x86) แทน
  2. โฟล์เดอร์สำหรับ Library จะไม่ใช่ \Windows\System32 อีกแล้ว

เรามาดูวิธีการแก้ปัญหากัน

ปัญหาข้อแรก

เปิดไฟล์ httpd.conf ค้นหาคำว่า Program Files แล้วแทนที่ด้วย Program Files (x86) ทั้งหมดเลย

ปัญหาข้อที่สอง

ปกติถ้าเราต้องการใช้งาน MySQL ต้องทำการก๊อปไฟล์ libmysql.dll ไปไว้ที่ \Windows\System32 ก็ให้เปลี่ยนไปไว้ที่ \Windows\SysWOW64 แทน

พอทำทั้งสองขั้นตอนนี้เสร็จแล้ว ก็ทำการ restart apache ซะ เครื่องเราก็พร้อมที่จะใช้งาน php บน Windows แบบ 64bit ได้แล้ว

ปล. วิธีการนี้ใช้งานได้ทั้ง Windows XP, Vista และ 7 แบบ 64bit ได้ทั้งหมด

ปล. ปั่นแบบเร่งด่วนภายใน 5 นาที

บทที่ 0 ติดตั้งโปรแกรม

หลังจากได้ทำความรู้จักกับ PHP และสิ่งที่เราต้องมีกันแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการติดตั้งโปรแกรมเพื่อจำลองให้เครื่องของเราเป็น Web Server เนื่องจากการทำงานของ PHP นั้น จะมีการประมวลผลที่ Server แล้วส่งผลลัพธ์เป็น HTML กลับมาให้ brower แสดงผล

สำหรับการติดตั้งนั้นจะมี 2 วิธีใหญ่ๆ คือ ติดตั้งเอง ทีละโปรแกรม และ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น AppServ ที่เป็นของคนไทยเอง

ข้อดีของการติดตั้งเอง คือเราสามารถทำการอัพเดทโปรแกรมแต่ละตัวได้ ในกรณีที่รุ่นใหม่ออกมา เนื่องจากโปรแกรมแต่ละตัว ทำงานแยกกัน ไม่ขึ้นต่อกัน ซึ่งผมก็ชอบวิธีนี้มากกว่า อาจจะยุ่งยาก มีหลายขั้นตอนไปนิด แต่ก็สะดวกเวลาปรับแต่งแต่ละโปรแกรม

ผมจะแบ่งขั้นตอนเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ Continue reading