เดี๋ยวค่อยเขียนอะไรลงดีกวว่าเนอะ มีอะไรหลายๆ อย่างที่ทำไว้เลย แต่ไม่ได้เขียนลง แฮร่ๆ
Category: Uncategorized
ย้าย server ใหม่ ทำ wordpress พัง ไม่ได้อัพเดทเว็บเป็นปี
ตามหัวข้อข้างบนแหละ ไม่ได้อัพเดทอะไรเลยเป็นปี ตอนนี้ก็ทำงานแบบเดิม แต่ก็ไปทำอย่างอื่นบ้างเหมือนกัน อายุเพิ่มขึ้นสุขภาพก็แย่ลง อะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปเยอะแยะมากมาย ก็ได้แต่ดูแลตัวเองและคนรอบๆ ตัวแหละ
blazemeter + jmeter ชีวิตดีขึ้นเยอะเลย
เมื่อก่อนผมใช้ jmeter วัดโหลดเว็บอย่างเดียว พอมีคนแนะนำ blazemeter แล้วเอา jmx ไปใส่ jmeter ชีวิตดีขึ้นอีกเยอะเลย
ยังมีอะไรให้เรียนรู้อีกเยอะ
เปลี่ยนชีวิตจาก svn เป็น git
โพสสั้นๆ เมื่อก่อนทำงานคนเดียว เก็บไฟล์ source code ไว้ใน svn เดี๋ยวนี้ย้ายไปบน git หมดแล้ว ต้องทำงานร่วมกับคนอื่น แถมทุกๆ คนในทีมใช้ git กันหมด ก็ต้องตามเขาละเนอะ
HDD External ตัวแรกในชีวิต
ปกติผมจะใช้ Flash Drive หรือไม่ก็เขียนข้อมูลลงแผ่น DVD เป็นส่วนใหญ่ แต่เดี๋ยวนี้สื่อหลายๆ อย่างมันก็เริ่มเปลี่ยนเป็นแบบ Download ทั้งนั้นแล้ว อย่าง เพลง หนัง เดี๋ยวนี้ก็เน้น Download กันซะมากกว่า ก็ได้ฤกษ์จัด External สักตัวมาไว้เก็บข้อมูลประจำบ้าน + ได้เงินจากทำโปรเจคนิดหน่อย ก็จัดมาซะ 3TB เลย เอาให้หายอยากกันไปเลยทีเดียว
นอกจากต่อ USB3 ได้แล้ว ยังต่อ LAN แชร์กันในบ้านได้อีก ถ้า HDD เจ้ง แต่กล่องไม่เจ้ง ก็ยังแกะเอา HDD ข้างในเปลี่ยนได้อีก (เห็นฝรั่งทำกัน)
ติดต่อ GPIO ของ RPi โดยใช้ python
เราสามารถใช้ RPi ควบคุมอุปกรณ์ภายนอกผ่านพอร์ท 40pin ที่ติดตั้งอยู่บน RPi ผ่านโมดูลที่มีมาให้อยู่แล้ว โดยใช้ภาษา C หรือ python ก็ได้ แล้วแต่ความถนัด ก่อนจะไปเขียนโปรแกรมลองมาดูขาต่างๆ ของ GPIO กันก่อน
ผมเลือกใช้ python ในการทดสอบแทนภาษา C เพราะ python เขียนง่ายกว่ามาก แถมเป็น interpreter ที่ไม่ต้องทำการ compile ก่อน ถ้าบรรทัดไหนเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ก็จะมี error แสดงที่หน้าจอทันที ทำให้แก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เหมาะแก่การหัดเขียนโปรแกรม
ก่อนอื่น ต้องติดตั้ง python และ GPIO ของ python ก่อน
ติดตั้ง python
sudo apt-get install python-dev
ติดตั้ง python-gpio
sudo apt-get install python-rpi.gpio
สร้างไฟล์ชื่อ blink.py
sudo nano blink.py
import RPi.GPIO as GPIO from time import sleep GPIO.setmode(GPIO.BCM) GPIO.setwarnings(False) GPIO.setup(21,GPIO.OUT) while True: GPIO.output(21, True) sleep(1) GPIO.output(21, False) sleep(1) GPIO.cleanup()
ต่อสายเข้า LED โดยให้ขา 40 (GPIO21) เข้าขา Anode และขา 6 (Ground) เข้าขา Cathode วิธีดูขา LED ถ้าเป็นขายาว จะเป็นขา Anode ส่วนขาสั้นจะเป็น Cathode แต่ถ้าขาถูกตัดไปแล้ว ให้ดู LED จากด้านบน ด้านที่แบนจะเป็นขา Cathode แรงดันที่ออกจาก RPi จะเป็น 3.3v ควรจะต่อ R สัก 330 โอม หรือ 560 โอม สักตัว เดี๋ยว LED จะเสียเอา
รันโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง
sudo python blink.py
จะได้ผลลัพธ์ตามนี้
ถ้าต้องการหยุดโปรแกรมก็กด CTRL+C
ง่ายๆ เลยใช่ไหมครับ
ได้ Raspberry Pi มาฟรีทำยังไงกับมันดี
ผมได้ Raspberry Pi 2 model B (ขอเรียกว่า RPi ละกัน) มาฟรีๆ ตัวหนึ่ง ผมเคยได้ยินมาว่า เจ้า RPi ตัวนี้สามารถทำงานได้เยอะแยะมากมาย เช่นเป็นคอมพิวเตอร์ราคาถูก เอามาทำ media server หรือต่อกับ hardware ตัวอื่นๆ เป็น micro controller เลยก็มี
RPi นั้นมีส่วนประกอบที่แทบจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์เลย ตัว RPi 2 ที่ผมได้มา เป็น System On Chip (SoC) ของ Broadcom BCM2836 ข้างในมี CPU ARM A7, GPU VideoCore IV, Ram 1GiB (แชร์กับ GPU), USB 1 port (แต่บน RPi 2 มี USB Hub ขยายเป็น 4 port ให้), HDMI เอาไว้ต่อจอ ขาดแค่ storage เท่านั้น ซึ่ง RPi 2 ก็มีช่อง micro sd เอาไว้ให้อยู่แล้ว การที่คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ ก็ต้องมี OS เป็นตัวจัดการ การที่ไม่มี storage ในตัว ผมว่าเป็นข้อดีซะอีก เราสามารถเปลี่ยน OS หรือเตรียม OS ที่มีหลาย configuration ไว้ทำหรับงานต่างๆ ใน sd แต่ละอัน ถ้าต้องการใช้งานอันไหน ก็แค่ถอด sd ตัวเก่าออก แล้วเอาตัวใหม่ใส่เข้าไป แถมราคา sd ก็ถูกมากๆ
OS หลักของ RPi คือ Raspbian (น่าจะมาจากคำว่า Raspberry + Debian) โหลดได้จาก https://www.raspberrypi.org/downloads/ นอกจากนั้นยังมี OS เจ้าอื่นๆ ให้เลือกลงอีก แต่ผมยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับ RPi เลย ก็เริ่มจาก Raspbian ก่อนละกัน
ไฟล์ที่โหลดมาได้จะมีนามสกุล img ก่อนจะนำไปใช้งาน ต้องทำการเขียนข้อมูลลงใน sd เสียก่อน โปรแกรมที่ใช้สำหรับ windows คือ Win32Disk Imager ถ้าเป็น mac ก็ใช้ ApplePi-Baker แทน
เสียบ sd เข้ากับคอมพิวเตอร์ sd ต้องมีขนาด 4GB ขึ้นไป แล้วเปิดโปรแกรม Win32 Disk Imager เลือกไฟล์ Raspbian
เลือก drive ของ sd ปกติถ้าเสียบ sd อันเดียว โปรแกรมจะเลือกให้อยู่แล้ว
กด Write แล้วรอสัก 5 นาที แนะนำให้ใช้ sd class 10 เพื่อความเร็วในการอ่านเขียน ราคา sd 8GB class 10 กับ class 4 ราคาต่างกันแค่หลักสิบ ถ้ามีอยู่แล้ว ใช้อันไหนก็ได้ แต่ถ้าซื้อใหม่ class 10 เท่านั้น
หลังจากเขียนไฟล์ลง sd เสร็จแล้ว ต่อจอ mouse กับ keyboard แล้วเสียบ sd เข้าไปที่ช่องด้านหลังบอร์ด RPi จากนั้นเสียสายไฟเข้าทาง micro usb
เรียบร้อย…
พอบูทเสร็จจะเข้าไปหน้า Raspberry Pi Software Configuration Tool ให้เลือก ข้อ 1.Expand Filesystem
sd อันนี้จะใช้ได้เต็มขนาด หลังจากการบูทครั้งต่อไป
ถ้าต้องการภาษาไทย ให้เลือกเมนู 4.Internationalisation Options
เลือก Change Locale
เลือก th_TH.UTF-8 UTF8
เลือก Finish
หลังจากบูทระบบใหม่ จะเข้ามาหน้า login ของ RPi ที่เหมือนๆ กับ linux ตัวอื่นๆ
login คือ pi
password คือ raspberry
ถ้าต้องการใช้งาน X Windows ทำได้โดยพิมพ์คำสั่ง startx
CPU ของ RPi มันช้ามากๆ ถ้าเทียบกับ PC ก็อย่าตั้งความหวังว่ามันจะลื่นเหมือน linux บน PC มันแค่พอใช้งานได้เท่านั้นแหละ
Raspbian มันก็คือ linux ที่ดัดแปลงมาให้ทำงานบน RPi ในการใช้งานจริง เราคงไม่ต่อ จอ mouse กับ keyboard ให้รกแน่นอน แค่ต่อสายแลนกับสายไฟสองเส้น แล้วใช้โปรแกรม putty ก็เข้าไปใช้งานได้เหมือนกัน
เปิดโปรแกรม putty แล้วใส่ ip ของ RPi ขั้นตอนการกำหนด ip ถ้าไม่ทำการ fixed ip ที่ RPi สามารถไปทำที่ router ได้ โดยกำหนด ip ผูกติดกับ mac address เลย
login คือ pi
password คือ raspberry
เท่านี้ก็ใช้งานได้แล้ว