Category: tutorial

บทที่ 3 ชนิดของข้อมูล

การสร้างตัวแปรในภาษา PHP ไม่จำเป็นต้องบอกชนิดของตัวแปรนั้นๆ เพียงแค่กำหนดค่าให้ตัวแปร ตัวแปรนั้นๆ ก็จะถูกประกาศ (cast) ให้เป็นชนิดตามข้อมูลที่ได้กำหนดเข้าไป (งง ไหมเนี่ย)

ภาษา PHP พัฒนามาจากภาษา C จึงมีชนิดข้อมูลที่คล้ายกัน แต่ได้ตัดชนิดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันออกไป จนเหลือชนิดข้อมูล 3 ชนิดใหญ่ 7 ชนิดย่อย ดังนี้

ชนิดข้อมูลกลุ่มแรก สามารถเก็บได้เพียงข้อมูลเดียว (Scalar Datatypes)
เป็นชนิดข้อมูลที่เก็บค่าไว้ได้เพียงชนิดเดียว มีทั้งหมด 4 ชนิดคือ Continue reading

บทที่ 2 ตัวแปร

การกำหนดตัวแปรในภาษา PHP นั้น ง่ายมากๆ เลยครับ เพียงแต่ใส่เครื่องหมาย $ เข้าไปข้างหน้าตัวอักษรใดๆ ก็จะถือว่าเป็นตัวแปรแล้ว ง่ายใช่ไหมครับ แต่ก็มีข้อกำหนดของการสร้างตัวแปรอยู่คือ Continue reading

บทที่ 1 เริ่มต้นเขียนโปรแกรม

หลังจากเราติดตั้งโปรแกรมต่างๆ เสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว ทีนี้เราก็พร้อมที่จะทำการเขียนโปรแกรมภาษา PHP แล้วล่ะครับ

ก่อนที่จะเริ่มเขียน PHP เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ภาษา PHP นั้นจะทำงานบน Server และส่งค่ากลับมาเป็น HTML ให้ Browser แสดงผล จึงต้องเก็บไฟล์ทั้งหมดไว้ใน Home Directory และเรียกผ่าน URL ของ Browser ไม่เหมือนกับ HTML ที่สามารถเรียกจากตรงไหนก็ได้ สำหรับการตั้งค่า Home Directory สามารถอ่านได้จากตอนที่แล้ว

นอกจากจะเก็บไฟล์ไว้ที่ Home Directory แล้ว ไฟล์ที่จะใช้งานได้ ต้องมีนามสกุล php ด้วย และเป็น text file ธรรมดา

เข้าใจข้อกำหนดเหล่านี้แล้ว เราก็พร้อมที่จะเขียน PHP ล่ะครับ Continue reading

บทที่ 0.5 การติดตั้งโปรแกรมสำหรับ Windows 64bit

สำหรับการติดตั้งโปรแกรมบน Windows แบบ 64bit นั้น จะมีความแตกต่างจาก Windows ธรรมดานิดหน่อยคือ

  1. เนื่องจากโปรแกรม Apache เป็นโปรแกรมแบบ 32bit จะถูกเก็บไว้ใน Program Files (x86) แทน
  2. โฟล์เดอร์สำหรับ Library จะไม่ใช่ \Windows\System32 อีกแล้ว

เรามาดูวิธีการแก้ปัญหากัน

ปัญหาข้อแรก

เปิดไฟล์ httpd.conf ค้นหาคำว่า Program Files แล้วแทนที่ด้วย Program Files (x86) ทั้งหมดเลย

ปัญหาข้อที่สอง

ปกติถ้าเราต้องการใช้งาน MySQL ต้องทำการก๊อปไฟล์ libmysql.dll ไปไว้ที่ \Windows\System32 ก็ให้เปลี่ยนไปไว้ที่ \Windows\SysWOW64 แทน

พอทำทั้งสองขั้นตอนนี้เสร็จแล้ว ก็ทำการ restart apache ซะ เครื่องเราก็พร้อมที่จะใช้งาน php บน Windows แบบ 64bit ได้แล้ว

ปล. วิธีการนี้ใช้งานได้ทั้ง Windows XP, Vista และ 7 แบบ 64bit ได้ทั้งหมด

ปล. ปั่นแบบเร่งด่วนภายใน 5 นาที

บทที่ 0 ติดตั้งโปรแกรม

หลังจากได้ทำความรู้จักกับ PHP และสิ่งที่เราต้องมีกันแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการติดตั้งโปรแกรมเพื่อจำลองให้เครื่องของเราเป็น Web Server เนื่องจากการทำงานของ PHP นั้น จะมีการประมวลผลที่ Server แล้วส่งผลลัพธ์เป็น HTML กลับมาให้ brower แสดงผล

สำหรับการติดตั้งนั้นจะมี 2 วิธีใหญ่ๆ คือ ติดตั้งเอง ทีละโปรแกรม และ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น AppServ ที่เป็นของคนไทยเอง

ข้อดีของการติดตั้งเอง คือเราสามารถทำการอัพเดทโปรแกรมแต่ละตัวได้ ในกรณีที่รุ่นใหม่ออกมา เนื่องจากโปรแกรมแต่ละตัว ทำงานแยกกัน ไม่ขึ้นต่อกัน ซึ่งผมก็ชอบวิธีนี้มากกว่า อาจจะยุ่งยาก มีหลายขั้นตอนไปนิด แต่ก็สะดวกเวลาปรับแต่งแต่ละโปรแกรม

ผมจะแบ่งขั้นตอนเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ Continue reading

บทเรียน PHP ในรูปแบบ CMDEVHUB

ก่อนที่จะเริ่มเขียน PHP เรามาทำความรู้จักกับ PHP กันก่อนดีกว่า

PHP คืออะไร

PHP หรือ PHP Hypertext Processor หรือชื่อเก่าคือ Personal Home Page tools เป็นภาษาสำหรับสร้างเว็ปไซต์แบบไดนามิก (Dynamic website) คิดค้นโดย Rasmus Lerdorf ในปี 1995 เพื่อใช้ในเว็ปไซต์ของเขา โดยพัฒนามาจากภาษา CGI (Common Gateway Interface) … อ่านต่อที่ wikipedia นะครับ

เริ่มต้นยังไง?

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • Browser อยู่แล้วคือ IE หรือ Internet Explore ในกรณีที่ใช้ Windows แต่เจ้า IE นั้น มันไม่ได้มาตรฐานสักเท่าไหร่ คือ มันไม่ตรงกับ Web Standard และการอ้าง DOM (Document Object Module)  ก็ไม่เหมือนชาวบ้าน ดังนั้น ผมจะใช้ Firefox เป็นมาตรฐาน และจะทดลองรันบน IE Version 7 ด้วย ลองใช้ Firefox เถอะครับ แล้วคุณจะลืม IE ไปจนหมดสิ้น
  • Web Server ถ้าบน Windows มีให้เลือก 2 ตัวใหญ่ๆ คือ IIS และ Apache ผมแนะนำให้ใช้ Apache ดีกว่าครับ เพราะมีหลายๆ อย่างที่ IIS ทำไม่ได้ หรือทำได้แต่เซ็ตยาก จนท้อไปเลย (เช่น URL Rewriting)
  • PHP พระเอกของเรา ถ้าไม่มีก็รันไม่ได้แหละ ไปโหลดเลยที่ www.php.net ครับ ให้เลือกเป็น Windows Binary นะครับ
  • MySQL ระบบฐานข้อมูลจะใช้ MySQL เป็นมาตรฐาน เพราะ Web Server แทบทุกที่จะมีตัวนี้ติดตั้งอยู่แล้ว เข้าไปโหลดที่ www.mysql.com เลือกตัว community นะครับ ก่อนที่จะโหลด ก็ต้องสมัครสมาชิกเสียก่อน ใช้เวลาไม่มากหรอกครับ แป๊ปเดียวเอง
  • SQLite ระบบฐานข้อมูลขนาดเล็ก ที่ความสามารถไม่เล็กตาม ถึงแม้จะสู้ MySQL ไม่ได้ แต่ก็ดีกว่าเขียนลง Text File ล่ะครับ
  • Editor ผมจะใช้สองตัวคือ
    1. Notepad++ ผมจะใช้ในกรณีที่แก้ไขโค๊ดไม่มากนัก คือไม่เกิน 100 บรรทัด สามารถแยกสีคำสั่งและทำการปิดโค๊ดในส่วนที่ไม่ต้องการแก้ไขแล้วได้ (Hide Line) สีที่ได้อาจจะไม่เหมือน Edit Plus แต่ลองปรับตัวนิดหน่อย ก็จะชินเองครับ ที่สำคัญที่สุดคือ ฟรี
    2. Dreamweaver CS3 หรือจะใช้ Version 8 ก็ได้ ไม่มีปัญหา เอาไว้สำหรับทำงานที่ใหญ่ๆ จำเป็นต้องใช้ระบบ site manager ในการจัดการโค๊ดทั้งหลาย และที่สำคัญ ผมใช้ัตัวนี้เวลาเขียน CSS ครับ นั่งเล็งใน Notepad++ ไม่ไหวอ่ะ
  • โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ผมเลือกใช้ 3 ตัว
    1. SQL Front
    2. phpmyadmin
    3. SQLite Manager (Firefox Addon)

หลังจากโหลดทุกอย่างมาหมดแล้ว ตอนต่อไป เตรียมพบกับการติดตั้งครับ

ปล. เครื่องของผมคงมีปัญหา เวลาพิมพ์คำว่า IE จะมีรูปติดข้างหลังมาด้วยตลอดเลย ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็น Virus หรือ Spyware ตัวไหนเนี่ย เอ้าลองอีกทีสิ IE