Category: บ่น

show hidden file ใน dreamviewer

ปกติผมจะใช้ dreamviewer แค่ cs4 ในการเขียนเว็บ เมื่อไม่กี่วันมานี้ได้คอมเครื่องใหม่มา ก็เลยอยากสนับสนุนของแท้ซะหน่อย (แบบ trial ก่อนนะ) เลยโหลด cc มาละซะ แล้วบางไฟล์ใน server มันจะถูกซ่อนไว้ (เป็นปกติ) คราวนี้คลำกันนานเลย เข้าเมนูนู้นนี่นั้น ก็หาไม่เจอซะที สุดท้ายกดไปกดมาก็เจอง่ายๆ ตามรูปเลย

เสียเวลาไป 2 ชั่วโมง เพื่อปุ่มนี้ปุ่มเดียวเลย

ซื้อ DU Meter แท้ๆ ราคาแค่ 270 บาทเอง

โปรแกรมสามัญประจำเครื่องของผมอีกโปรแกรมหนึ่งก็คือ DU Meter เอาไว้วัดความเร็วหรือปริมาณข้อมูลที่เราใช้ในระบบเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ต โปรแกรมเล็กๆ แต่มีประโยชน์แบบนี้ ผมก็อยากจะจ่ายเงินให้เขาบ้างแหละแต่ติดที่ว่าราคามันตั้ง 29.95USD หรือราวๆ 1,000 บาท เมื่อก่อนตอนเป็น Version5 ผมยังสามารถหา แครก มาได้แต่พออัพเป็น Version6 ผมตั้งใจจะซื้อใช้งานจริงๆ จังๆ สนับสนุนคนพัฒนาบ้างน่าจะดีกว่า

DU Meter เราสามารถโหลดมาใช้งานได้ฟรี 30 วัน แต่ระหว่างนั้นมันก็จะขึ้นเตือนแบบนี้บ่อยๆ

จะว่าไปมันก็น่ารำคาญพอสมควร จะปิดก็ไม่ได้ ต้องรอให้นับถอยหลังให้ครบก่อน ราวๆ 10 วินาที ถึงจะปิดได้ หลังจากที่ใช้วิธีแครกโปรแกรมมานาน ก็กะว่าจะสนับสนุนเจ้าของโปรแกรมบ้างละ ไปเช็คในเว็บ ก็มีราคาพิเศษโดยลดราคาให้ 8USD ก็จะเหลือราวๆ 800 กว่าบาท แต่อย่างที่ผมบอก ผมว่ามันแพงไปนิด ถ้าสัก 500 ผมกดซื้อโดยไม่ลังเลละ

หลังจากตัดสินใจอยู่หลายวัน ก็ได้ข้อยุติว่า เอาโปรแกรมออกดีกว่า เพราะหลังๆ มันขึ้นเตือนบ่อยเหลือเกิน ยิ่งใกล้จะหมดเวลา 30 วัน ยิ่งขึ้นถี่มากๆ พอกด Uninstall โปรแกรม DU Meter ปุ๊บ ก็มีกล่องขึ้นมาตามรูป

ข้อความที่ผมสนใจขึ้นมาคือ Name your price แปลเป็นไทยง่ายๆ เลยคือ ให้คุณเสนอราคามา (ถ้าเรารับได้เราจะสนองให้) ลองดูสักหน่อย ไม่น่าจะเสียหายเนอะ

ในเมื่อเขาให้เราเสนอราคาไป ผมก็จัดไปที่ 4.99USD หรือราวๆ 150 บาท เผื่อฟลุ๊กได้ ก็มีเฮแน่นอน แต่ใจจริงถ้าสัก 10USD ผมก็โอเคแล้วนะ

แต่กลับมีข้อความแปลได้คร่าวๆ ว่า โปรแกรมเมอร์ ไม่ได้อิ่มทิพนะ เห็นใจเราหน่อยเหอะ ต้องกินข้าว กินน้ำเหมือนคุณนั้นแหละ เรารับราคาที่คุณเสนอมาไม่ได้หรอก แต่เราเสนอให้คุณใหม่ที่ 8.99USD (ประมาณ 270 บาท) สำหรับเครื่องเดียว หรือ 17.97USD (ประมาณ 540 บาท) สำหรับ 5 เครื่องใช้ในบ้านหลังเดียวกัน (แสดงว่าแชร์กับเพื่อนไม่ได้) ผมลองถามน้องแชร์คนละครึ่ง แต่มันไม่เอา ก็ไม่เป็นไร ซื้อใช้คนเดียวก็ได้ คอมประจำก็มีเครื่องเดียวอยู่แล้ว PC กับ Notebook อีกสองตัวไม่ต้องลงก็ได้ PC เอาไว้เล่นเกมอย่างเดียว ส่วน Notebook ตอนนี้กองในตู้ไม่ได้เปิดใช้มาจะหกเดือนแล้วมั้ง

ก็จัดไปราคา 8.99USD

ตอนเลือกการจัดส่ง (Delivery Method) ถ้าอยากได้แผ่น CD สวยๆ เราสามารถเลือกให้ส่งแผ่นมาให้เราด้วยก็ได้ แต่ต้องเสียค่าส่งอีก 8USD ซึ่งมันก็ไม่จำเป็นเท่าไหร่ พอกดไปแล้วเราก็ลงรายละเอียดของเรากับการจ่ายเงิน ผมเลือกจ่ายทาง Paypal เพราะง่าย แล้วก็ไม่ต้องกรอกหมายเลขบัตรเครดิตด้วย

เสร็จ จากนั้นก็รอทางนู้นส่งเมลมาหาเรา

แต่เนื่องจากเมลที่ผมใช้สมัครกับเมลของ Paypal เป็นคนละอันกัน ทาง PayPro เลยให้เรายืนยันทางโทรศัพท์เพิ่มเติม ซึ่งทางนู้นจะโทรมาหาเราเอง ก็ต้องคุยกับเขานิดหน่อย เป็นภาษาอังกฤษนะ

จริงๆ แล้วคุยกันไม่ยากหรอก ถ้าหากเขาพูดเร็วเราฟังไม่รู้เรื่อง ก็บอกให้เขาพูดช้าลงหน่อย ประมาณ Please speak slowly แล้วเขาก็จะถามเราว่า เราได้ทำการซื้อ DU Meter ใช่ไหม (เขาออกเสียงว่า ดู มิเทอร์ งะ) จากนั้นจะให้เราสะกดอีเมลของ Paypal ให้เขา ก็สะกดไปทีละตัว ช้าๆ ไม่ต้องรีบ ถ้าถูกต้องเขาก็จะส่งรหัสมาให้ทางอีเมลเลย

ผมลองถามเขาไปว่า ทำไมต้องโทรมาด้วย เขาบอกว่า เพราะเมลที่สั่งกับเมลของ Paypal ไม่ตรงกัน ต้องโทรมาเช็ค ส่วนถ้าเป็นบัตรเครดิต เขาจะโทรมาถามหมายเลขบัตรที่ซื้อ เพราะฉะนั้นยังไงเขาก็จะโทรมาถามอยู่ดี ยกเว้นว่า เมลที่ซื้อกับ Paypal ตรงกัน เขาอาจจะไม่โทรมาถาม

ตรงนี้อาจเป็นอุปสรรค์ใหญ่เลย แต่เอาเหอะ แค่บอกให้เขาพูดช้าๆ แล้วพยายามฟังนิดหน่อยก็พอแล้ว ทางนู้นเขาก็พยายามพูดให้เราเข้าใจง่ายๆ เหมือนกัน

เรียบร้อย ได้รหัสสำหรับลงทะเบียนมาแล้ว แค่นี้ก็สามารถใช้งานโปรแกรมได้ตลอดไปแล้ว

ผมว่า model นี้ก็ดีเหมือนกันนะถ้าคนใช้งานจะลบโปรแกรมออก ก็ลองถามก่อนว่าราคาที่เราตั้งไว้มันสูงเกินไปหรือเปล่า หรือเขารับได้ที่ราคาเท่าไหร่ บางทีอาจเจอจุดที่ทั้งสองฝ่ายลงตัวกัน อย่างผมกะไว้ว่าสัก 9.99USD ผมก็ซื้อแล้ว แต่ลองใส่ 4.99USD ไปเผื่อฟลุ๊ก แต่ทางนู้นกลับเสนอมาที่ 8.99 ซึ่งก็ต่ำกว่าที่คาดไว้ ก็เลยจัดไปซะเลย

“ใช้โปรแกรมแท้แล้ว ลอยได้หรือเปล่า?” ผมเคยโดนเพื่อนถามคำถามนี้เหมือนกัน ผมบอกเลยว่ามันไม่ลอยหรอก แถมยังทำงานได้เหมือนโปรแกรมที่แครกทุกอย่าง แต่ที่ไม่ต้องทำอีกเลยคือ หาแครก เวลาตัวเดิมใช้งานไม่ได้ แถมโปรแกรมของเรายังได้อัพเดทตลอดเวลาอีกด้วย ผมเคยมีประสบการณ์กับเพื่อนที่ทำงานด้วยกัน (คนที่พูดประโยคข้างบนนั่นแหละ) งานจะต้องส่งในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า แต่ต้องไล่เก็บ BUG กันนิดหน่อย ผมก็ทำส่วนของผมไปเรื่อยๆ แต่เพื่อนมันมาบอกว่า Adobe มันเปิดไม่ขึ้น ขอเวลาหาแครกก่อน แล้วมันก็ง่วนกับการหาแครก ลองแล้ว ลองอีก ก็ยังไม่ได้ จนสุดท้ายเจอไวรัสทำ Windows พังเลย ได้มาลง Windows ใหม่กันหมด งานก็ไม่ได้ทำ แถมผมยังต้องทำส่วนของมันอีก

ส่วนอีกเรื่องคือ ภาษาอังกฤษ อีกสองปีเราก็จะเป็น AEC กันแล้ว ประเทศรอบข้างเราเขาฟังภาษาไทยกันรู้เรื่องนะ ทั้งพม่า ลาว กัมพูชา ส่วนไทยละ จะสือสารกับเขายังไง แล้วที่สำคัญคนประเทศเหล่านั้นนอกจากภาษาไทยแล้วเขายังสามารถสือสารภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศษ (ลาว) ได้อีกด้วย ลองคิดดูละกันว่าภาษาไทยในโลกนี้มีประเทศไหนใช้กันบ้าง ส่วนภาษาอังกฤษล่ะ มีกี่ประเทศที่ใช้กัน

เวลาสื่อสารกับฝรั่ง ไม่ต้องไปสนใจหรอกว่าเราจะพูดผิดหรือพูดถูก จะตรงตามไวยกรไหม เพราะฝรั่งส่วนใหญ่เวลาพูดเขายังไม่สนใจไวยกรเลย เอาแค่ verb ให้ถูกกาล (tense) ก็พอ หรือถ้าเราไม่รู้ว่า Past Simple หรือ Past Participle ของคำนั้นๆ คืออะไร ก็ให้ใส่เวลาลงไป แค่นี้เขาก็เข้าใจแล้ว

ฝรั่งที่เคยคุยกับผมเขาบอกว่า “ขอให้พูดออกไปเหอะ ผิดถูกช่างมัน ยังไงเขาก็เข้าใจ ดีกว่ายืนยิ้มๆ อย่างเดียว” เขาบอกว่า “สยามเมืองยิ้ม เพราะคนไทยสื่อสารกับฝรั่งไม่ได้มากกว่า เลยยิ้มอย่างเดียว”

นอนดีกว่า

โพสแรกของปี 2556

โพสนี้ไม่มีอะไรมากครับ เอารูปมาให้ดูกันสักรูป

1357200107-3076635019-o

ภาพนี้แค่ภาพเดียว ตอบคำถามได้หลายร้อย หลายพัน คำถามเลยครับ

ช่วงนี้ไม่ได้เขียนอะไรใหม่ๆ ไป

ไม่ได้อัพเดทอะไรใหม่ๆ เลย ปัญหาชีวิตเยอะแยะ แถมต้องดิ้นรนตามสังคมที่เปลี่ยนไปทุกวัน แต่เอาเหอะ ชีวิตไม่สิ้นก็ดิ้นกันไป เนอะ…

ปล. หลงไปซื้อ Windows8 มา ไม่ถูกใจ Start Screen เลยงะ

ปล2. ว่างงานด้วยแหละ ทำเอา fail ไปพักใหญ่เลย

ตั้งชื่อโดเมนแบบไหนดี?

ช่วงนี้ได้งานทำเว็บมาหลายที่เลย เสร็จไปก็หลายที่ บางที่ก็แค่คุยเฉยๆ requirement ไม่เคลีย หรือเขียนแบบครอบจักรวาล ซึ่งดูยังไงๆ ก็ไม่มีทางเสร็จแน่นอน เลยไม่รับบ้างก็มี หรือไม่ก็บอกให้ไปเขียนมาให้เคลียหรือคิดใหม่ซะ บางที่ก็คิดซะเทพเกิน เข้าใจว่าเขียนโปรแกรมไม่เป็นแต่… ถ้าเขียนได้แบบที่อยากได้จริงๆ คงไม่ได้คุยกันแล้วล่ะ ไม่ไปอยู่ Google ก็คง Facebook ละ ส่วนที่ล่าสุด คนที่คุยด้วย เขาก็มีความรู้ดีนะ แต่… เป็นความรู้เมื่อชาติบางก่อนเสียแล้ว ตอนคุยก็บอกว่า อยากใช้ Java ทำ พวก Servlet, Spring หรือ EJB มันเทพจริงๆ นะ เขียนเป็น MVC แยกส่วนกันได้อย่างสมบูรณ์ (เคยเขียนจริงอ่ะ??) แบ่งงานกันทำได้ น้องลง Coding อย่างเดียว เดี๋ยวพี่หา Designer มาให้ บลาๆๆๆๆๆ สุดท้าย ก็เสียเวลาเปล่าไป พอคุยเรื่อง Server ที่ต้องตั้งเองหรืออย่างน้อยก็ VPS แหละ (Share host ที่สนับสนุน Java ยังไม่เคยเจอเลย) อีกอย่างเดี๋ยวนี้เขาไปทาง Rail กันซะมากกว่าแล้ว
เรื่องที่มันผ่านๆ มาก็ช่างมันเหอะ แต่ตั้งแต่คุยมา ปัญหาใหญ่สำหรับคนที่ขอให้ทำเว็บ (ทั้งการกุศลและคิดเงิน) คือ เรื่องชื่อเว็บไซต์ (Domain Name) ที่ส่วนใหญ่จะคิดซะเลิศหรู อลังการ แต่เอาไปใช้งานจริง ไม่ได้ ผมก็เลยสรุปมาสั้นๆ ตามประสบการณ์ ไม่อ้างอิงตำราไหน เพราะคิดเองล้วนๆ ถูกบ้างผิดบ้าง อย่าว่ากันนะ

ข้อควรระวังในการตั้งชื่อโดเมน

  1. ไม่ควรใช้ชื่อจังหวัด ทำไมน่ะหรือ? เพราะว่าคนที่ไม่ได้อยู่จังหวัดนั้นๆ จะสะกดไม่ถูกอ่ะสิ บางคนอยู่จังหวัดตัวเองแท้ๆ ยังสะกดไม่ถูกเลยก็ยังมี เช่น ผมอยู่เชียงใหม่ แน่นอน ผมต้องเขียน Chiang Mai ถูกอยู่แล้ว แต่ถ้ามีคนอยู่ภูเก็ตมาถามชื่อเว็บ เขาจะสะกดคำว่า Chiang Mai ถูกไหม แถมชื่อจังหวัดยังเขียนได้สองแบบคือ Chiang Mai กับ Chiangmai อีกต่างหาก (หนังสือนำเที่ยวส่วนใหญ่จะเขียนแยกกัน) แบบนี้ลำบากตายเลย ถ้าอยากได้คำนี้จริงๆ ผมจะแนะนำให้เขียนว่า cm ดีกว่า
  2. ไม่ควรแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าอยากได้ภาษาไทยจริงๆ ก็จดโดเมนภาษาไทยเป็นโดเมนสำรองไปเลยดีกว่า เพราะภาษาไทยบางคำมันเขียนได้หลายแบบ แต่อ่านเป็นภาษาอังกฤษได้เสียงเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน
  3. พยายามหลีกเลี่ยงคำที่เขียนได้สองแบบ เช่นคำว่า “สี” เขียนได้สองแบบคือ color และ colour หรือคำว่า “กลาง” เขียนได้สองแบบ center และ centre (แบบแรกเขียนตามอเมริกัน แบบที่สองเขียนตามอังกฤษ) เคยมีตัวอย่าง จดโดเมนมีคำว่า center แล้วต้องไปดิลกับคนยุโรป ลูกค้าเข้าเว็บไม่ได้เลย สุดท้ายก็ต้องจดโดเมนเพิ่มอีกชื่อนึงแล้วทำ 302 มาที่โดเมนหลักแทน
  4. พยายามอย่าใช้ตัว s ในกรณีที่มีคนจดโดเมนชื่อนั้นอยู่แล้ว เช่น เราอยากได้ชื่อ fun.com แต่มีคนจดไปแล้ว เราไปจด funs.com แทน จริงๆ มันก็ทำได้ แต่เวลาบอกคนอื่น โดยเฉพาะคนไทยด้วยกันเนี่ยแหละ เขาไม่รู้หรอกว่าต้องใส่ s หรือไม่ใส่ จนกว่าเราจะบอกว่า ต้องเติม s ต่อท้ายด้วยนะ แล้วถ้าจดเป็นชื่อ funszone งี้ละ เวลาบอกทีก็ลำบากเลย เพราะงั้นถ้าชื่อที่ต้องการใช้มีคนจดอยู่แล้ว แต่ถ้าเติม s กลับว่าง ไปหาชื่ออื่นเหอะ ถ้ามันดีจริง ทำไมมันถึงว่าง คนถึงไม่จด จริงไหม
  5. ถ้าโดนเมนที่อยากได้มีคนจด .com ไปแล้ว แต่ .net .org หรือ dot อื่นๆ ยังว่างอยู่ แล้วโดนเมนนั้นๆ ถูกใช้งานอย่างจริงจัง ควรไปหาชื่ออื่นจะดีกว่า อันนี้ใช้งานกับของตัวเองเลยครับ โดเมน gamenee.com มีคนจดไว้อยู่ แต่ไม่ได้ใช้งาน ผมอยากได้ชื่อนี้มาใช้ ในเมื่อ .com ไม่ได้ใช้งาน bot ไม่ได้สนใจแน่ๆ ผมเลยจัดการ gamenee.net ไปเลย แล้วก็เริ่มติดอันดับกันบ้างละ เพราะฉะนั้น dot อะไรไม่สำคัญ ถ้าที่เราอยากได้มันไม่ถูกใช้งานหรือเนื้อหาของเราไม่เหมือนกันเลย ก็จด dot อื่นๆ ได้ แต่ถ้าจะเอา google.net (ถ้าจดได้) อันนี้ยังไงคงไม่ได้เกิดละครับ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นที่ผมเจอๆ มา หวังว่าคงจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ บ้างนะ ไปแหละ ^^

สามจีไทย ทำไมมันใช้ยากนักหนา

สิ้นสุดการรอคอยกันแล้วกับสามจีประเทศไทยตอนนี้เรามีให้ใช้งานได้แล้วทุกค่าย ซึ่งก็เป็นที่น่ายินดีเสียยิ่งนักสำหรับประเทศไทยทั้งๆ ที่ประเทศรอบข้างเรา ไปกันไกลลิบแล้วเราจะเริ่มตอนนี้ก็ยังไม่สาย มองโลกในแง่ดีซะว่าดีกว่ายังไม่เริ่ม จริงไหม 🙂

มาตรฐานสามจีของประเทศไทยมีสองระบบคือ CDMA สำหรับค่าย hutch เดิมหรือตอนนี้กลายเป็น Truemove H ไปแล้ว กับระบบ HSPA ที่เป็นระบบของค่ายอื่นๆ ที่ใช้งานกันอยู่แล้วก็เป็นระบบที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือแทบทุกเครื่องที่ใช้งานสามจีได้อยู่แล้ว

แต่ปัญหามันไม่ใช่แค่นี้สิ มาตรฐานโลกสามจีเขาใช้งานกันที่ความถี่ 900MHz กับ 2100MHz แต่เนื่องจากมีแมวมาขวางโลกอยู่ทำให้การประมูลคลื่น 2100MHz เมื่อปี 2553 ไม่สามารถทำได้ ดึงเรื่องมาจนปี 2555 ก็ยังคงไม่เริ่มการประมูลเสียที ทำให้ผู้ให้บริการแต่ละรายต้องใช้วิธีซิกแซกใช้ความถี่อันน้อยนิดของตัวเองมาให้บริการสามจี สำหรับ AIS นั้นไม่มีปัญหาอยู่แล้วเพราะเดิมได้ให้บริการมือถือบนความถี่ 900MHz ก็เลยสามารถให้บริการสามจีบนความถี่นี้ได้ทันที แต่สำหรับ Truemove และ Dtac เดิมทีได้ให้บริการบนความถี่ 1800MHz แต่พอมาใช้งานสามจีแล้ว จำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้ที่ 850MHz แทน เนื่องจากอุปกรณ์ที่รองรับ HSPA 1800MHz มีไม่มาก Continue reading